วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การตัดตั้งจังหวัดใหม่




ครม.ตั้ง 'บึงกาฬ' จังหวัดที่77 แยกจากหนองคาย

เมื่อวันที่ 3 ส.ค. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.)

มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77 ตามที่

กระทรวงมหาดไทยเสนอมา โดยแยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติ

ครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา

อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า

มีประชากรเกือบ 4 แสนคน จากเกณฑ์ 3 แสนคน และจังหวัดมีรายได้

89 ล้านบาท/ปี จากเกณฑ์รายได้ 2.5 ล้านบาท/ปี มีความพร้อมเรื่อง

สาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา

โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำนอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่รูปแบบ

พิเศษติดชายแดนลาว 330 กม. อย่างไรก็ตามแม้จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่

4,305 ตร.กม. ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ 5,000 ตร.กม.

ที่มา :ไทยรัฐออนไลน์



จังหวัดที่มีการเสนอให้แยกตัวจากเดิม ได้แก่

1. จังหวัดแม่สอด
เป็นการรวม 5 อำเภอชายแดนฝั่งตะวันตกของ จังหวัดตาก คือ อ.แม่สอด อ.อุ้มผาง อ.แม่ระมาด อ.ท่าสองยาง และ อ.พบพระ
สาเหตุเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขา ยากต่อการดูแลของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ดังนั้นจึงมีความพยายามผลักดันให้ 5 อำเภอชายแดน เป็นจังหวัดแม่สอดตั้งแต่ ปี 2547 แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากจำนวนประชากรมีไม่ถึงจำนวนที่กำหนด และความเจริญของตำบลโดยรอบ ในโครงการ จังหวัดแม่สอดจะประกอบด้วย 5 อำเภอ และ 3 กิ่งอำเภอ คือ อ.เมืองแม่สอด (เปลี่ยนจาก อ.แม่สอด) อ.แม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อ.พบพระ อ.อุ้มผาง กิ่งอำเภอรวมราษฎร์คีรี กิ่งอำเภอใหม่ในจังหวัดแม่สอดแยกจากอำเภอพบพระ กิ่งอำเภอพะวอ-ด่านแม่ละเมา กิ่งอำเภอใหม่ในจังหวัดแม่สอดแยกจากอำเภอแม่สอด และกิ่งอำเภอมงคลคีรีเขตร์ กิ่งอำเภอใหม่ในจังหวัดแม่สอดแยกจากอำเภอท่าสองยาง

2. จังหวัดฝาง เป็นโครงการจัดตั้งที่มีแนวคิดจะยกฐานะอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดฝาง โดยนายบดินทร์ กินาวงค์ ประธานคณะกรรมการจัดตั้งจังหวัดฝาง ยื่นรายชื่อประชาชนเพื่อประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จำนวน 10,500 รายชื่อ ต่อประธานรัฐสภา โดยนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รับมอบแทน หลังจากที่ได้ยื่นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝาง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าเอกสารยังไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนด ดังนั้น คณะจึงเดินทางมายื่นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝาง พ.ศ. ... ที่ได้มีการแก้ไขแล้ว พร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผล รวมทั้งบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว และรายชื่อของประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งใน อ.แม่อาย อ.ฝาง และ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ จำนวน 10,500 รายชื่อ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนู

3. จังหวัดพระนารายณ์ จังหวัดพระนารายณ์ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้นโดยแยกพื้นท ี่ อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง และ อำเภอโคกเจริญ ออกจากจังหวัดลพบุรี ตามข้อเสนอของนายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี กระทรวงมหาดไทย พิจารณาว่าการแบ่งเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรี ไปเป็นจังหวัดใหม่ชื่อ "จังหวัดพระนารายณ์" ยังไม่เป็นการสมควร เนื่องจากปัจจุบันจังหวัดลพบุรียังมีพระนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นหลักฐาน และได้มีการประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 เป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดลพบุรีที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้แบ่งแยก พื้นที่จังหวัดไปเป็นจังหวัดใหม่ ประกอบกับเมื่อได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ตามมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ปรากฏว่าเนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จำนวนอำเภอในเขตปกครอง จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด ไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี จึงเห็นสมควรแยกเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรีไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่ในขณะนี้


จังหวัดที่เคยมีการเสนอให้ตั้งเป็นจังหวัดซึ่งไม่ได้รับการพิจารณาหรือไม่ผ่านการพิจารณา ได้แก่

1. จังหวัดสุวรรณภูมิมหานคร หรือ มหานครสุวรรณภูมิ คือโครงการตามนโยบายของรัฐ ภายใต้รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ริเริ่มโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาใหม่ชื่อ สำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(สกภ./OSDC) เป็นผู้บริหารโครงการ โครงการนี้สืบเนื่องมาจากแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ เพื่อเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน และเป็นเมืองอากาศยาน โดยมีรูปแบบการพัฒนาเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ เขตการปกครองพิเศษ ที่มีรูปแบบคณะกรรมการอิสระในการดูแลบริหารเมือง มหานครสุวรรณภูมิ เป็นชื่อจังหวัดที่กำลังถูกเสนอให้พิจารณาตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ลำดับที่ 77 ของประเทศไทย บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานครบริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ในโครงการกำหนดให้ครอบคลุมพื้นที่เขตลาดกระบังและเขตประเวศในกรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีและกิ่งอำเภอบางเสาธงในจังหวัดสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน เพื่อวางกรอบการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ รองรับการตั้งเมืองใหม่ ภายใต้ชื่อ "สุวรรณภูมิมหานคร" โดยจะมีพื้นที่รวมประมาณ 521 ตร.กม. และจะมีประชากรประมาณ 462,000 คน

โครงการได้รับการอนุมัติ ร่างพระราชบัญญัติสุวรรณภูมิมหานคร โดย คณะรัฐมนตรีรักษาการณ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549 มีมติเห็นชอบในหลักการ แต่ก็ยังมีเสียงทัดทานและสนับสนุนจากหลากหลายฝ่าย ในปัญหาเกี่ยวกับด้าน กฎหมาย, การวางผังเมือง, สิ่งแวดล้อม, การป้องกันน้ำท่วม/การระบายน้ำ, การปั่นราคาที่ดิน, และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะการเร่งรัดการเสนอโครงการนั้น มีลักษณะคล้ายโครงการเมืองใหม่องครักษ์ จังหวัดนครนายก และ โครงการเมืองใหม่บางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เคยล้มเหลวมาแล้ว

ข้อเสนอในการตั้งนครสุวรรณภูมิประกาศในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 และร่างกฎหมายได้รับการรับรองโดยคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 จากร่างกฎหมาย ในสี่ปีแรกนครสุวรรณภูมิจะบริหารโดยผู้ว่าราชการจังหวัดที่แต่งตั้งโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคณะกรรมการบริหารจำนวน 30 คน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คอยดูแล. หลังจากสี่ปีแรกแล้ว คณะกรรมการบริหารจะถูกยุบ แต่โครงสร้างการบริหารงานขั้นสุดท้ายยังไม่ได้เป็นที่ตกลงกัน. มีการวางแผนไว้ว่านครสุวรรณภูมิจะเป็นเขตการปกครองพิเศษ โดยอาจจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร. เป็นที่คาดหมายว่ากฎหมายฉบับสมบูรณ์จะแล้วเสร็จหลังจากวิกฤตการณ์การเมือง ที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้น

ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้ระงับการนำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติสุวรรณภูมิมหานคร พ.ศ.... และขอถอนเรื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง ทำให้กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ และเกิดการคัดค้านเรื่องเขตการปกครองกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เห็นด้วยที่ควรระงับการพิจาณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อให้เกิดสภาพบังคับ โดยเร็ว ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นว่าการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิควรมองเรื่องการบริหาร พื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะมากกว่าการแบ่งเขตการปกครอง ให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบในรูปแบบคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ แทน สุวรรณภูมิมหานครจึงนับเป็นโครงการเมืองใหม่ที่ไม่ถูกอนุมัติอีกโครงการ หนึ่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติการแต่งตั้ง พระราชบัญญัติสุวรรณภูมิมหานคร พ.ศ. 2552 ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ของสำนักนายกรัฐมนตรี


2. จังหวัดไกลกังวล จังหวัดไกลกังวล เป็นโครงการจัดตั้งจังหวัดใหม่ของประเทศไทย สืบเนื่องจาก วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้พิจารณาการนำเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดที่ 77 เป็นการรวม 5 อำเภอ 2 จังหวัดในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศคือ อำเภอชะอำและอำเภอท่ายาง จากจังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้าเป็นจังหวัดเดียว ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสฉลองครบรอ บ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใน พ.ศ. 2550 และอำเภอหัวหินยังเป็นที่ตั้งของวังที่ประทับอีกด้วย แต่โครงการนี้ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับรัฐบาลชุดดังกล่าว

ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้มีการนำเรื่องส่งเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง โดยอ้างเหตุผลเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 77 พรรษา พร้อมเหตุผลประกอบในการจัดตั้งจังหวัดใหม่ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 ธันวาคม 2524 จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 นายปานชัย บวรรัตนปราณ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แจ้งหนังสือเวียนด่วนที่สุดที่ ปข 0017/21174 เรื่องพระราชบัญญัติจัดตั้งวังไกลกังวล ให้ทุกหน่วยงานตอบแสดงความเห็นตามแบบสอบถามไปยังสำนักงานปกครองจังหวัด โดยระบุว่าได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ส่ง สำเนาร่าง พรบ.ตั้งจังหวัดไกลกังวลเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นในรายละเอียดผลดี ผลเสีย สาระสำคัญของร่าง พรบ.ดังกล่าว ได้อ้างเหตุผลความจำเป็นว่า เนื่องจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประชากรอาศัยจำนวนมาก และมีพื้นที่กว้าง ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จึงสมควรแยก อำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน อำเภอสามร้อยยอด ออกจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแยกอำเภอชะอำออกจากการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีรวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัด ไกลกังวล โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอหัวหินเป็นอำเภอเมืองไกลกังวล ถึงอย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็ยังเป็นหนึ่งในโครงการที่ยังไม่ได้รับการ พิจารณา (พ.ศ. 2552)

3. จังหวัดชุมแพ จังหวัดภูเวียง เป็นจังหวัดที่อยู่ในระหว่างการเสนอขอจัดตั้ง โดยแยกออกจากจังหวัดขอนแก่นคณะยื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง จังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยก อำเภอภูเวียง อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และ อำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้และโดยล่าสุดร่างพระราชบ ัญญัติฉบับดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างการผลักดันให้เข้าเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนหน้านี้มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหว ัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป ในเวลาต่อมาจึงได้มีความพยายามผลักดันให้อำเภอภูเวีย งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดใหม่อีกครั้ง

4. จังหวัดทุ่งสง

5. จังหวัดสว่างแดนดิน แยกตัวออกมาจากจังหวัดสกลนคร

6. จังหวัดไชยปราการ การจัดตั้งจังหวัดไชยปราการ โดยเป็นนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่จะให้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่ดูแลปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดทางชายแดนไทย พม่า โดยการรวมเอาอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ และอำเภอเวียงแหง พร้อมทั้งยกฐานนะกิ่งอำเภอเวียงคำ กับกิ่งอำเภอหมอกฟ้า ซึ่งแยกออกมาจากฝาง และแม่อาย โดยอาจจะใช้ ตำบลแม่ข่า กับตำบลท่าตอน ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอใหม่ โดยจังหวัดไชยปราการจะประกอบไปด้วย อำเภอเมืองฝาง แม่อาย ไชยปราการ เวียงแหง และกิ่งอำเภอเวียงคำ กับ กิ่งอำเภอหมอกฟ้า ไม่ผ่านการอนุมัตินื่องจากรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลง

7. จังหวัดเทิงนคร จังหวัดเทิงนคร เป็นโครงการในการจัดตั้งจังหวัด โดยทำการยกฐานะอำเภอเทิง และอำเภอข้างเคียงขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ โดยมีชื่อว่า จังหวัดเทิงนคร แยกตัวออกมาจากจังหวัดเชียงราย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/40556

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กรมอุตุนิยมวิทยา

เริ่มดำเนินงาน
ในกรมทดน้ำ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. 2466 และต่อมาปลายปีได้จัดตั้ง
เป็นแผนกอุตุนิยมศาสตร์ และสถิติกองรักษาน้ำ กรมทดน้ำ
(ปัจจุบันคือกรมชลประทาน)
โอนกิจการ
23 มิถุนายน 2485
:
ยกฐานะเป็นกรมอุตุนิยมวิทยา โดยมีสถานที่ ทำงาน อยู่ที่ 612 ถนนสุขุมวิท ตำบลคลองตัน อำเภอพระโขนง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
29 สิงหาคม 2505
:
โอนมาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
1 ตุลาคม 2515
:
โอนมาสังกัดกระทรวงคมนาคม
3 ตุลาคม 2545
:
โอนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ย้ายสถานที่ทำงาน
ด้วยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 และ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 อนุมัติให้
กรมอุตุนิยมวิทยาย้ายสถานที่ทำงานอุปกรณ์ทางเทคนิค และบ้านพักจาก
สถานที่เดิม มายังสถานที่ปัจจุบัน โดยอนุมัติงบประมาณจำนวน 346 ล้านบาท
ให้เป็นค่าก่อสร้าง อาคารที่ทำการใหม่สูง 16 ชั้น รวมทั้งบ้านพักข้าราชการ
โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ 4353 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา
กรุงเทพมหานคร
ศึกษาความรู้เกี่ยวกับ "ภูมิอากาศ" คลิ๊กที่นี่