วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์

ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์และความสัมพันธ์ของมัน เนื้อหาของวิชาจึงคาบเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิชา อุตุนิยมวิทยา อากาศวิทยา สมุทรศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา นิเวศน์วิทยาของพืช และธรณีสัณฐานวิทยา แต่วิชาภูมิศาสตร์กายภาพมิได้เป็นเพียงการนำเอาเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ กายภาพสาขาต่าง ๆ มารวมกันเท่านั้น แต่ได้นำเอาเนื้อหาเหล่านี้มาผสมผสานกันในแง่ที่เป็นสภาพแวดล้อมที่มี อิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์กายภาพเน้นความสัมพันธ์ทางพื้นที่ นั่นคือ เน้นการกระจายบนพื้นผิวโลกหรือที่เรียกว่ารูปแบบทางภูมิศาสตร์ (geographic pattern) ของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากปฏิกิริยาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของธรรมชาติในบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก การศึกษารูปแบบทางภูมิศาสตร์ของสภาพแวดล้อมนี้ จะเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นแก่นของระบบสภาพแวดล้อมของโลก โครงสร้างและระบบกลไกการทำงานอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติมักถูกลืม เมื่อมนุษย์คำนึงถึงแต่ประโยชน์ที่จะได้เฉพาะหน้า ตัวอย่างเช่น การทำลายพายุเฮอริเคน (ทำให้สลายตัว) ทำให้เกิดผลกระทบไปยังบริเวณอื่นๆอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมิได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พายุนี้แม้จะเป็นอันตราย แต่ก็เป็นส่วนสำคัญของอุทกวักจักร (hydrologic Cycle) ของภูมิภาคบางแห่ง เช่น หมู่เกาะปะการังในมหาสมุทรแปซิฟิกต้องอาศัยฝนที่ได้จากพายุเฮอริเคนเพื่อ รักษาดุลยภาพของสภาพแวดล้อมของปะการัง หรือในการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำอาจจะสนองวัตถุประสงค์บางประการของผู้สร้าง แต่ก็มีผลกระทบอย่างกว้างขวางในด้านต่างๆ
ใน ยุคที่มนุษย์ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมอย่างหนักเช่นในปัจจุบัน ความเข้าใจโครงสร้างของสภาพแวดล้อมอย่างกว้างๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกลไกการทำงานของขบวนการต่างๆในสภาพแวดล้อมจึงเป็น ประโยชน์อย่างมาก

ตัดตอนจาก ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ, 2524, ระบบกายภาพในสภาพแวดล้อม (ภูมิศาสตร์กายภาพ), ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





ภูมิศาสตร์มนุษย์
ภูมิศาสตร์มนุษย์ คือ การศึกษาตัวแปรทางด้านมนุษย์ทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนพื้นที่ว่ามีการกระจายอย่างไร สัมพันธ์กันเองอย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร จนกระทั่งเกิดการจัดรูปแบบในพื้นที่ขึ้นมาและนำไปสู่การอธิบายวางกฎเกณฑ์และเสนอเนื้อหาในลักษณะทฤษฎี (Hagerstrand,1972) ภูมิศาสตร์มนุษย์จึงครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์พฤติกรรม เศรษฐกิจ การเมือง การตั้งถิ่นฐาน และยังรวมเอาภูมิศาสตร์ภูมิภาคเข้าไว้ด้วย(Goodall, 1987)

ที่มา : ฉัตรชัย พงศ์ประยูร, 1982, “ศาสตร์ทางพื้นที่ : บทอ่านทางภูมิศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น: