วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)

GIS (Geographic Information System) หรือ ระบบสารสนเทศ
ทาง ภูมิศาสตร์ “…เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
พื้นที่ (Spatial Context) โดยข้อมูลลักษณะต่างๆใน
พื้นที่ที่ทำการศึกษา จะถูกนำมาจัด ห้อยู่ในรูปแบบที่มีความ
สัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิด
และรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ตามต้องการ"
ขบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลใน GIS แบ่งออกเป็น
2 รูปแบบ คือ
1. Manual Approach เป็นการนำข้อมูลใน
รูปแผนที่หรือลายเส้นต่างๆถ่าย ลงบนแผ่นใส แล้วนำมาซ้อน
ทับกัน ที่เรียกว่า “overlay techniques” ในแต่
ละปัจจัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แต่วิธีการนี้มีข้อจำกัด
ในเรื่องของ จำนวนแผ่นใสที่จะนำมาซ้อนทับกัน ทั้งนี้เนื่อง
จากความสามารถในการ วิเคราะห์ด้วยสายตา
(Eye Interpretation) จะกระทำได้ในจำนวน
ของแผ่นใสที่ค่อนข้างจำกัด และจำเป็นต้องใช้เนื้อที่และวัสดุ
ในการเก็บ ข้อมูลค่อนข้างมาก
2. Computer Assisted Approach
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตัวเลขหรือดิจิตอล (digital)
โดยการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลแผนที่หรือลายเส้นให้อยู่ใน
รูปของตัวเลขแล้วทำ การซ้อนทับกันโดยการนำหลักคณิต
ศาสตร์และตรรกศาสตร์เข้ามาช่วย วิธีการนี้จะช่วยให้ลดเนื้อที่
ในการเก็บ ข้อมูลลงและสามารถเรียกแสดงหรือทำ การวิเคราะห์
ได้โดยง่าย หัวใจที่สำคัญของระบบ GIS คือ ข้อมูลด้านเชิง
พื้นที่ (Spatial Data) ซึ่ง จะถูกนำเข้าระบบด้วย
การแปลงให้อยู่ในรูปของ Vector โดยเครื่องมือนำ
เข้า Digitizer ซึ่งข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กันในเชิง
ตำแหน่งเช่นเดียวกับ ที่อยู่ในแผนที่ การจัดเก็บข้อมูลใน
ลักษณะ Vector มีข้อดีในแง่การ ประหยัดเนื้อที่การจัดเก็บ
และการขยายภาพให้ใหญ่บนจอภาพโดยยัง
แสดงความคมชัดเหมือนเดิม การเก็บข้อมูลในเชิงพื้นที่
สามารถออก แบบการจัดเก็บตามประโยชน์การใช้สอย โดย
แบ่งเป็นชั้น (Layer) ต่าง ๅ เช่น ถนน, แม่น้ำ, ลักษณะ
ชั้นดิน, ลักษณะชั้นบรรยากาศ ฯลฯ เมื่อต้องการทำการวิเคราะห์
ข้อมูล ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกข้อมูลเชิงพื้นที่ชั้นต่างๆ
ที่ต้องการมาซ้อนทับกัน (Overlay) โดยกำหนดเงื่อนไข
ที่ต้องการเข้า ไปในระบบ ระบบ GIS จะแสดงพื้นที่หรือจุด
ที่ตั้งของสถานที่ที่ผู้ใช้ต้อง การ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะ
แสดงด้วยความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้
ง่าย นอกจากระบบ GIS จะจัดเก็บข้อมูลเชิง พื้นที่ เช่น
แผนที่แสดงการใช้ที่ดิน ฯลฯ แล้วระบบยังสามารถจัดเก็บข้อมูล
ที่ไม่ใช่เชิงพื้นที่โดยให้มีความสัมพันธ์ กับข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่
ข้อมูล สดงคุณลักษณะต่างๆ (Attribute Data)
เช่น ข้อมูลด้านประชากร,ข้อมูลรายละเอียดลูกค้า เป็นต้น
ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปฐานข้อมูลเดียว
(Relational Database) ทำให้การจัดเก็บข้อมูลไม่
ซ้ำซ้อน และง่ายต่อการเรียกใช้ข้อมูลนั้นๆ
โดยสรุปแล้ว ข้อมูลในระบบ GIS ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
Graphic หรือ Spatial Data (ข้อมูลเชิงภาพ)
แบ่งลักษณะของ graphic
ได้เป็น feature 3 ประเภท คือ
Point feature 1 (จุด) ใช้อ้างอิงถึงตำแหน่งที่ตั้งของ
สิ่งต่างๆ ในแผนที่ เช่น ที่ตั้งของบ่อน้ำ ที่ตั้งของเสาไฟ
Line feature (เส้น) เป็นจุดของชุดที่เรียกต่อกัน โดย
ใช้แทนลักษณะที่ เป็นเส้น เช่น แม่น้ำ, ถนน
Polygon feature (พื้นที่รอบรูปปิด) เป็นเส้นรอบ
รูปปิด ใช้แทนลักษณะ ที่เป็น หรือพื้นที่ เช่น พื้นที่ป่า ขอบเขต
การปกครอง : ประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล
Non graphic หรือ Assrobite Data เป็น
ข้อมูลบอกคุณลักษณะต่างๆของ
feature เช่น ชื่อถนน ความกว้างของถนน
ส่วนประกอบของระบบ GIS มีดังนี้
ฮาร์ดแวร์ (Hard ware) : คอมพิวเตอร์ ใช้เก็บประ
มวลผลและแสดงผล ข้อมูลแผนที่
ซอร์ฟแวร์ (GIS Soft ware) ควรจะต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้ คือ
สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เป็น graphic
และ attribute สามารถเพิ่มเติม แก้ไขข้อมูล และเรียกดึง
ข้อมูลมาใช้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งมีความสามารถใน
การวิเคราะห์ข้อมูล และแสดงผลข้อมูล ในรูปที่เข้าใจได้ง่าย
เช่น รายงาน ตาราง หรือ แผนที่ ข้อมูลนำเข้า (Data)
ข้อมูลเหล่านี้อาจอยู่ในรูปของแผนที่ เลข (Digital
Map Data) หรือได้จากข้อมูลหรือไฟล์ (file)
จากงานสำรวจภาคสนาม (ground survey) หรือ
ข้อมูลนี้ได้จากโปรแกรมอื่น รวมทั้งข้อมูลที่ได้จาก
ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศขั้นตอนการทำงาน
(procedure) ประกอบด้วย ขั้นตอนการเตรียมข้อมูล
นำเข้า แก้ไข วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลบุคลากร (Staff
และ Expertise) จะต้องเป็นบุคลากรที่มีความรู้ใน
ระบบ GIS สาเหตุ ที่ทำให้ระบบ GIS ได้รับความนิยมมาก
ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะระบบ GIS มีข้อได้เปรียบมากกว่าการใช้
แผนที่ในเรื่อง การจัดเก็บข้อมูลในเชิงพื้นที่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
รวมถึงการรวมข้อมูลในเชิงพื้นที่ทั้ง หมดให้ให้อยู่ในลักษณะฐาน
ข้อมูลเดียว ซึ่งทำให้มีประโยชน์ในแง่การ วิเคราะห์ข้อมูลใน
รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของ ะยะเวลา
และต้นทุนในการจัดทำ ตัวอย่างจะเห็นได้จากเมื่อผู้บริหารทำ
การวางแผนด้านพื้นที่ ระบบ GIS ช่วยในการวิเคราะห์พื้นที่
ในหลายรูป แบบสำหรับแผนงานที่ต่างๆ กัน เพื่อตอบคำถาม
(what-if question) และ ช่วยในการผลิตเอกสาร
อ้างอิงได้ในขณะที่การทำวิเคราะห์แบบดั้งเดิมต้อง
ใช้ ระยะเวลานานและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นระบบ GIS
จึงได้กลายเป็น เครื่องมือสำคัญเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสิน
ใจในด้านการ บริหารสภาพ แวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ให้
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่ สุด

ตัดตอนจาก สุระ พัฒนเกียรติ, หลักเบื้องต้น ระบบสาร
สนเทศทางภูมิศาสตร์ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมตัดตอนจาก Magazine
"Toward Intelligent banking"

ไม่มีความคิดเห็น: