วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)

GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ซึ่งถ้าแปลให้ตรงตัวแล้วคือ
"ระบบกำหนดตำแหน่งบน
พื้นที่โลก"ระบบนี้ได้พัฒนาขึันโดยกระทรวง
กลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดทำโครงการ Global Positioning
System มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 โดยอาศัยดาวเทียมและระบบวิทยุนำร่อง
เป็นพื้นฐานในการกำหนดตำแหน่งค่าพิกัดของเครื่องรับ(Receiver) ซึ่ง
เมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะมีจำนวนดาวเทียมทั้งหมดถึง 24 ดวง พร้อมด้วย
สถานีควบคุมภาคพื้นดิน เพื่อให้ระบบ GPS สามารถที่จะทำงานได้ทุก
สภาวะและตลอด 24 ชั่วโมงลักษณะการทำงานในการกำหนดค่าพิกัดของ
ระบบGPS ทำได้ด้วยการนำเครื่องรับไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะทราบค่า
พิกัดจากนั้นเครื่องรับจะรอสัญญาณจากดาวเทียม เมื่อเครื่องรับได้สัญ
ญาณจากจำนวนดาวเทียมที่เพียงพอก็จะประมวลสัญญาณจากดาวเทียม
และจะประมวลผลสัญญาณข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมและแสดงผลออกมา
เป็นค่าพิกัดของตำแหน่งเครื่องรับ ซึ่งจะเสร็จสิ้นในระยะเวลาที่รวดเร็วมาก
เมื่อเที่ยบกับการรังวัดในแบบเดิม
ความถูกต้องของค่าพิกัดที่ได้จากระบบ GPS จะขึ้นอยู่กับความสามารถ
ของอุปกรณ์เครื่องรับซึ่งอาจจะมีความถูกต้องได้ ตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ไป
จนถึง 300 เมตรที่เดียว โดยที่กระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ยัง
สามารถที่จะลดค่าความถูกต้องของเครื่องรับได้อีกด้วยการส่ง ค่าSelective
Availability(SA) ออกมาเพื่อทำให้การคำนวนค่าพิกัดลดความคลาด
คลื่อนนอกจากนั้นยังใช้วิธี
Differential Correction ทำให้ค่าพิกัดถูกต้องใน
ช่วง 1 - 5 เมตรเท่านั้น เนื่องจากการที่ระบบ GPS
สามารถจัดเก็บค่าพิกัดได้
อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องสูง และทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงจึงมีการนำ

ระบบ GPS ไปใช้งานในด้านต่างๆอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงาน
ด้านแผนที่ และงานด้านการสำรวจ ทำให้ระบบ GPS มีความสำคัญมาก

ดาวเทียมที่ใช้สำรวจด้วยระบบ GPS ปัจจุบันมีทั้งหมด 24 ดวง ตามที่กระ
ทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ในโครงการGPS ดาวเทียม
ทั้งหมดจะโคจรครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งโลก การที่เครื่องรับ
สัญญาณจะ
สามารถกำหนดค่าพิกัด(X,Y) จะต้องได้รับสัญญาณดาวเทียมอย่างน้อย
3 ดวงขึ้นไป ถ้ารับได้ 4 ดวงก็จะสามารถกำหนดค่าพิกัด(X,Y) พร้อมทั้ง
ค่าความสูง(Z) ของตำแหน่งนั้นได้ด้วย


ตัดตอนจาก เอกสารแนะนำGPS บริษัทอีเอสอาร์ไอร์(ประเทศไทย)จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น: